วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นักจัดรายการวิทยุ


นักจัดรายการวิทยุ



ลักษณะของงานที่ทำ
               นักจัดรายการวิทยุ หรือ(ดีเจ ซึ่งย่อมาจาก Disc Jockey หมายถึงผู้จัดรายการเพลงประกอบความรู้เกี่ยวกับเพลงหรือเรื่องอื่นๆ ซึ่งอยู่ในความสนใจของผู้ฟัง ในสถานที่ฟังเพลง) ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถตรงกับรายการที่จัดและ ตรงกับนโยบายของสถานีวิทยุกระจายเสียงและจัดรายการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มผู้ทำงานทั่วไป นักเรียน นักศึกษา หรือกลุ่มพ่อบ้านแม่บ้าน เกษตรกร ผู้สูงวัย หรือ ชุมชนท้องถิ่น
นักจัดรายการวิทยุควรศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับเพลงที่จะเปิดให้ผู้ฟัง ตลอดจนความรู้เรื่องอื่นๆ ที่จะนำมาใช้ประกอบการเปิดเพลง เพื่อให้ผู้ฟังได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน ซึ่งควรจะตรงกับกลุ่มผู้ฟังเช่น กลุ่มผู้ฟังเป็นเกษตร ก็ควรให้ความรู้ทางการเกษตร เพื่อให้กลุ่มผู้ฟังได้เป็นสมาชิกถาวรติดตาม รายการตลอดไป รายการที่จัดอาจเป็นรายการที่มีกำหนดเวลาแน่นอนหรือเป็นรายการที่ให้บริการ ตลอดวัน เช่น รายการกรีนเวฟ หรือรายการอยู่เป็นเพื่อนคุยกับนักศึกษาที่ดูหนังสือดึกๆ หรือรายการโชว์ดึก โดยมีหัวข้อคุยเป็นประเด็นเรื่องราวตามกระแสเหตุการณ์บ้านเมืองและโลกแทรก ไว้ในรายการ หรือรายการเพื่อสุขภาพ รายการเพื่อผู้บริโภค รายการเพื่อการศึกษา การทบทวนข้อสอบของนักเรียนเพื่อเตรียม สอบเอ็นทรานซ์ การตอบปัญหาสุขภาพจิตสำหรับผู้ฟังที่มีปัญหาคับข้องใจหรืออาจเป็นรายการสาย ด่วน เพื่อช่วยเหลือความเดือดร้อน โดยนักจัดรายการวิทยุจะเปิดเพลง สลับการให้ความรู้หรือการตอบปัญหา หรือสนทนากับสมาชิกที่เป็นผู้ฟังตามช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อมิให้เกิดความเบื่อหน่ายแก่บุคคลทั่วไป
นักจัดรายการหรือดีเจที่ได้รับความสนใจ ในปัจจุบัน มักจะเป็นดีเจที่จัดรายการให้กลุ่มนักเรียน และนักศึกษาวัยรุ่น โดยให้ความรู้ทั่วไป สลับกับการเปิดเพลงประกอบหรือรายการบันเทิงหรือเป็นรายการเพลงล้วน ๆ

อ้างอิง : ที่มา  www.enn.co.th/news/117/.../2008-08-05.html
http://blog.eduzones.com/futurecareer/16107 (ภาพประกอบ)
วันที่ 11 ตุลาคม   2553  เวลา  11.01 น. 

อาชีพครู - อาจารย์

อาชีพครู
ลักษณะของงานที่ทำ
               ผู้ประกอบอาชีพนี้ มีหน้าที่ในการสอน อบรม ทางด้านวิชาการและภาคปฏิบัติ พุทธศึกษา จริยศึกษา และพลศึกษา ที่เน้นนักเรียนเป็นจุดศูนย์กลางในการเรียน รวมถึงคอยดูแลอบรมความประพฤติ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนโดยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีสติปัญญา ความรู้ คุณธรรม และจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ครู - อาจารย์ มีหน้าที่ในการสอนแต่ละชั้นให้ได้มาตรฐานการศึกษา ดังต่อไปนี้
1. ครูอนุบาล (Pre-Primary Education Teacher, Kindergarten Teacher)เป็นผู้ที่สอนหนังสือเด็กชายและเด็กหญิง ในโรงเรียนที่รับเลี้ยงและสอนเด็กที่ยังไม่เข้าเกณฑ์ เรียนหนังสือ และโรงเรียนอนุบาล
2. ครูประถมศึกษา (Primary Education Teacher)
ปฏิบัติหน้าที่ในการสอนการอ่านการเขียนเลขคณิต และวิชาพื้นฐานเบื้องต้น เตรียมโครงการสอนในชั้นที่จะต้องสอนตลอดปีการศึกษา สอนวิชาการต่างๆ ควบคุมการทำงานในชั้นเรียน


3. ครูมัธยมศึกษา (Secondary Education Teacher)
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ทำหน้าที่ในการสอนวิชาการในระดับมัธยมศึกษา รวมถึงครูที่สอน หรือฝึกอบรมวิชาชีพในสถาบันการศึกษาที่ต่ำกว่าระดับมหาวิทยาลัย เช่น ครูสอนผู้ใหญ่ในโรงเรียนที่สอนวิชาทางด้านธุรกิจหรือการค้า หรือในสถานฝึกอบรม
4. อาจารย์มหาวิทยาลัย และสถาบันอุดมศึกษา (University and Higher Education Teacher)
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ได้แก่ ผู้สอนหนังสือใน คณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และ สถาบันอุดมศึกษาให้แก่ผู้ที่เรียนในขั้นปริญญาตรีและปริญญาโทในวิทยาลัยและ มหาวิทยาลัยให้เป็นบัณฑิตที่พร้อมไปด้วยวิทยาการ และจริยธรรม

อ้างอิง :  ที่มา  http://www.pramanik.in/online_exclusive_women_wears.html (ภาพประกอบ)
www.jobchiangmai.com/learning/100work/work401.html
วันที่ 11  ตุลาคม  2553  เวลา  10.59  น. 

อาชีพนักออกแบบ

อาชีพนักออกแบบ



    ลักษณะของงานที่ทำ

               ผู้ประกอบอาชีพนักออกแบบเครื่องแต่งกายจะมีหน้าที่คล้ายกับนักออกแบบเครื่องประดับ หรือนักออกแบบเครื่องเรือน โดยมีหน้าที่ ดังนี้
                วิเคราะห์ ศึกษาวัสดุ ที่นำมาออกแบบสิ่งทอ ลายผ้า และเนื้อวัสดุ เพื่อตัดเย็บ และวิธีการตัดเย็บ ควบคุมการตัดเย็บให้เป็น ไปตามแบบที่ออกไว้
                นำเทคนิคทางเทคโนโลยีที่มีต่อการสร้างงานศิลป์มาประยุกต์ใช้ โดยจะมีขั้นตอนการทำงาน ออกแบบให้ผู้ว่าจ้างดังนี้
                1. ต้องรวบรวมความคิด ข้อมูลที่เป็นสัดส่วนจากลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง
                2. ศึกษารูปแบบงานที่มีอยู่ ถ้าสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือดัดแปลง เพื่อลดระยะเวลาการทำงานและต้นทุนการผลิตในเวลาเดียวกัน ต้องทำการค้นคว้าวิจัยด้วย
                3. ทำการร่างแบบคร่าวๆ โดยคุมให้อยู่ในแนวความคิดดังกล่าวให้ได้ตามความต้องการ
                4. นำภาพที่ร่าง แล้วให้ผู้ว่าจ้างพิจารณา เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการผลิต รวมทั้งการใช้ วัตถุดิบ และประเมินราคา
                5. นำภาพร่างที่ผ่านการพิจารณาและแก้ไขแล้วมาสร้างแบบ (Pattern) วิธีที่จะต้องตัดเย็บใน รายละเอียด ปัก กุ๊น เดินลาย หรือ จับเดรปแล้วนำมาลงสีตามจริง เขียนภาพและอธิบายวิธีการทำให้ละเอียด และชัดเจนที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อให้ช่างทำตามแบบได้
                6. ส่งแบบ หรือชุดที่ตัดเนาไว้ให้ฝ่ายบริหารและลูกค้า หรือผู้ว่าจ้าง พิจารณาทดลองใส่ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องขั้นสุดท้าย
                7. นำแบบที่ผู้ว่าจ้างเห็นชอบ ทำงานประสานกับช่างตัดเย็บ ช่างปัก เพื่อให้ได้ผลงานตามที่ลูกค้าต้องการ

อ้างอิง : ที่มา   www.eduzones.com/school-5-1-7338.html
http://www.ecb.int/euro/banknotes/html/design.en.html(ภาพประกอบ) http://www.pramanik.in/online_exclusive_women_wears.html  (ภาพประกอบ)
วันที่ 11 ตุลาคม  2553  เวลา  10.55 o. 

อาชีพพิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการ


พิธีกร , ผู้ดำเนินรายการ















ลักษณะของงานที่ทำ
               1. ศึกษานโยบาย และวัตถุประสงค์ของสถานีโทรทัศน์ บุคคล หรือองค์กรที่มอบหมายให้ดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามนโยบายและวัตถุ ประสงค์ของเจ้าของรายการ
                2. จัดเตรียมทำข้อมูล จัดทำบทพูด หรือบทสนทนาให้เหมาะสมกับรายการที่จัดขึ้น โดยมุ่งให้เป็นที่พอใจของเจ้าของรายการสถานีโทรทัศน์ และผู้ชมรายการ โดยอาจดำเนินรายการเพียงลำพังผู้เดียว หรือทำงานเป็นทีม
                3. อ่านประกาศ ท่องจำสคริปต์เพื่อเตรียมออกรายการโดยไม่ให้เกิดความผิดพลาด
                4. ถ่ายทอดข้อมูลเรื่องราวต่างๆ และสื่อความหมายด้วยภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศที่ถูกต้อง และชัดเจน
                5. ดำเนินรายการโดยการเสนอความรู้ สารคดี และเรื่องที่น่าสนใจของรายการ ตั้งคำถาม และข้อปัญหาเพื่อให้ผู้ร่วมรายการตอบร่วมการสนทนาหรือร่วมทำกิจกรรมที่จัดขึ้นพยายามเชื่อมโยง รายการให้ราบรื่น และไม่ติดขัด
                6. ช่วยเหลือผู้เข้าร่วมรายการเมื่อมีข้อขัดข้องเกิดขึ้นในขณะดำเนินรายการ
                7. อาจอ่านประกาศโฆษณาผู้สนับสนุนรายการ
                8. อาจจัดเตรียมสถานที่โดยการออกแบบและตกแต่งให้เหมาะสมกับรายการ
                9. อาจจัดหาอุปกรณ์เพื่อใช้ในการดำเนินรายการ สรรหาตัวบุคคลที่มาแสดงร่วมรายการ อาจนำเสนอภาพประกอบการบรรยายเป็นวิดีโอภาพยนตร์ หรือภาพนิ่ง แผนภูมิ ฯลฯ ตามความเหมาะสมกับรายการ
                10. อาจเช่ารายการ และหาค่าโฆษณามาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินรายการ
                11. เป็นงานที่ต้องสื่อสารกับผู้ชมในห้องส่ง และผู้ชมทางบ้าน

ลักษณะของงานที่ทำ
               1. ศึกษานโยบาย และวัตถุประสงค์ของสถานีโทรทัศน์ บุคคล หรือองค์กรที่มอบหมายให้ดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามนโยบายและวัตถุ ประสงค์ของเจ้าของรายการ
                2. จัดเตรียมทำข้อมูล จัดทำบทพูด หรือบทสนทนาให้เหมาะสมกับรายการที่จัดขึ้น โดยมุ่งให้เป็นที่พอใจของเจ้าของรายการสถานีโทรทัศน์ และผู้ชมรายการ โดยอาจดำเนินรายการเพียงลำพังผู้เดียว หรือทำงานเป็นทีม
                3. อ่านประกาศ ท่องจำสคริปต์เพื่อเตรียมออกรายการโดยไม่ให้เกิดความผิดพลาด
                4. ถ่ายทอดข้อมูลเรื่องราวต่างๆ และสื่อความหมายด้วยภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศที่ถูกต้อง และชัดเจน
                5. ดำเนินรายการโดยการเสนอความรู้ สารคดี และเรื่องที่น่าสนใจของรายการ ตั้งคำถาม และข้อปัญหาเพื่อให้ผู้ร่วมรายการตอบร่วมการสนทนาหรือร่วมทำกิจกรรมที่จัดขึ้นพยายามเชื่อมโยง รายการให้ราบรื่น และไม่ติดขัด
                6. ช่วยเหลือผู้เข้าร่วมรายการเมื่อมีข้อขัดข้องเกิดขึ้นในขณะดำเนินรายการ
                7. อาจอ่านประกาศโฆษณาผู้สนับสนุนรายการ
                8. อาจจัดเตรียมสถานที่โดยการออกแบบและตกแต่งให้เหมาะสมกับรายการ
                9. อาจจัดหาอุปกรณ์เพื่อใช้ในการดำเนินรายการ สรรหาตัวบุคคลที่มาแสดงร่วมรายการ อาจนำเสนอภาพประกอบการบรรยายเป็นวิดีโอภาพยนตร์ หรือภาพนิ่ง แผนภูมิ ฯลฯ ตามความเหมาะสมกับรายการ
                10. อาจเช่ารายการ และหาค่าโฆษณามาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินรายการ
                11. เป็นงานที่ต้องสื่อสารกับผู้ชมในห้องส่ง และผู้ชมทางบ้าน

อ้างอิง :   www.local.moi.go.th/piteekon.html  
www. daradaily.co.th (ภาพประกอบ)  
วันที่ 11  ตุลาคม  2553  เวลา 10.46 น.
  

อาชีพมักคุเทศก์


ลักษณะของงานที่ทำ
              

ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ จะต้องศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นำเที่ยว รวมทั้งความรู้ด้าน ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จารีตประเพณี วัฒนธรรม วางแผนกำหนดเส้นทาง จัดกำหนดการนำเที่ยว ให้เหมาะสมกับฤดูกาล และระยะเวลา ติดต่อสถานที่พักแรม หรือเตรียมอุปกรณ์เพื่อการพักแรมในสถานที่ ที่จะนำเที่ยว
                นำนักท่องเที่ยวชมสถานที่ และบรรยายให้นักท่องเที่ยวได้ทราบความเป็นมาของสถานที่ และท้องถิ่น แหล่งธรรมชาติที่น่าชม และน่าสนใจ ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ความเป็นอยู่ของประชาชน  จัดการพักแรม และดูแลให้ความสะดวกสบาย ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในระหว่างการนำเที่ยว โดยพยายามจัดการให้บริการที่ต้องสร้างความพอใจ และประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวทุกคนอย่างทั่วถึงและต้องมีจรรยาบรรณทาง วิชาชีพ
อาชีพมัคคุเทศก์ จัดแบ่งออกเป็นกลุ่มตามกลุ่มของนักท่องเที่ยว คือ มัคคุเทศก์พาเที่ยวภายในประเทศ (Domestic) มัคคุเทศก์ท้องถิ่น และมัคคุเทศก์นำเที่ยวชาวต่างประเทศ (Inbound)
สภาพการทำงาน
               มัคคุเทศก์ จะทำงานตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนการนำเที่ยวมีระยะเวลาตั้งแต่ 1 วัน ถึงสามหรือสี่สัปดาห์ และในขณะพานักท่องเที่ยวทัศนาจรต้องดูแลนักท่องเที่ยวตลอด 24 ชั่วโมง นำนักทัศนาจร หรือนักท่องเที่ยว ตั้งแต่คนเดียวจนถึงเป็นกลุ่ม หรือกลุ่มใหญ่ไปชมสถานที่ต่างๆ ทั้งในเมืองและต่างจังหวัดตามที่กำหนดไว้ในแผนการนำเที่ยว การเดินทางอาจจะมีทั้งระยะใกล้ ไกล อาจใช้ยานพาหนะทุกประเภท อาจต้องนำเที่ยวในลักษณะผจญภัย อย่างเช่น ทัวร์ป่า การเดินขึ้นเขา การล่องแพ การค้างแรมร่วมกับกลุ่มชนชาวพื้นเมือง ขึ้นอยู่กับแผนการนำเที่ยว และรูปแบบของการท่องเที่ยว

 

อ้างอิง :  ที่มา  www.panyathai.or.th/wiki/index.php/มัคคุเทศก์  
travel.a-tale.com (ภาพ)
วันที่  11  ตุลาคม  2553  เวลา 10. 34 น.